เทคนิคการเขียนข่าวและงานประชาสัมพันธ์ สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
เทคนิคการเขียนข่าวและงานประชาสัมพันธ์
สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ข่าวสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการบริหารงานประชาสัมพันธ์ ที่จะทำให้ผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจ รับรู้ข่าวต่าง ๆ ที่สำนักประกันคุณภาพการศึกษาได้จัดขึ้นอย่างทั่วถึง และใช้เทคนิคในการเขียนให้สอดคล้องกับข่าว งานที่เกิดขึ้นจริง
ข่าว คือ การรายงานข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ รายงานภารกิจ ความก้าวหน้าการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกิดขึ้นให้สาธารณชนทราบ ตลอดจนความคิดเห็นของบุคคลเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ การเขียนข่าวจำเป็นต้องมีเทคนิคในการสร้างความเข้าใจ ความสนใจ และความสำเร็จที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
แหล่งที่มาของข่าว คือ กิจกรรมของหน่วยงานที่วางไว้ ทั้งที่ดำเนินการแล้วและยังไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งเป็นข่าวเชิงบวกและสร้างสรรค์ของความเป็นจริงที่เกิดจากกิจกรรมของหน่วยงาน
องค์ประกอบของข่าว
การเขียนข่าวสารที่จะประชาสัมพันธ์ หรือสารที่จะสื่อออกไปยังสาธารณชน ควรมีสาระสำคัญ หรือองค์ประกอบที่เรียกว่า “5 W 1 H” ดังนี้
- ใคร (Who) ใครคือบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข่าว
- ทำอะไร (What) เกิดอะไรขึ้น การกระทำหรือเหตุการณ์ใดที่สำคัญ
- ที่ไหน (Where) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ไหน
- เมื่อไหร่ (When) การกระทำหรือเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดขึ้น วัน เวลา ใด
- ทำไมและอย่างไร (Why and How) ทำไมเหตุการณ์นั้นจึงเกิด และเกิดขึ้นได้อย่างไร
- ข้อมูลประกอบอื่น ๆ เช่น ความเป็นมา
ขั้นตอนในการเขียนข่าว ผู้เขียนควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- หาข้อมูล โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และสัมภาษณ์
- วางแผนการเขียน ศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของสื่อที่จะส่งเผยแพร่
- ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน
- ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน
รูปแบบการเขียนข่าว โดยทั่วไปการเขียนข่าวจะมีเพียง 3 ส่วนเท่านั้น ได้แก่ พาดหัวข่าวหรือโปรยหัวข่าว (headline) วรรคนํา เป็นการสรุปเรื่องราว (lead) เนื้อข่าว เป็นรายละเอียดของเหตุการณ์และเรื่องราว (detail) นอกจากนี้รูปแบบการเขียนข่าวทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าข่าวหนังสือพิมพ์ หรือข่าววิทยุโทรทัศน์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ ปีรามิดหัวกลับ ปีรามิดหัวตั้ง และสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยืนแบบผสม ซึ่งใช้ในรูปแบบของข่าวที่แตกต่างกันดังนี้
- แบบปิรามิดหัวกลับ (inverted pyramid) เป็นการนําเสนอข่าวโดยลําดับประเด็นสําคัญ จากมากไปหาน้อย ซึ่งสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ในการอยากรู้อยากเห็นสิ่งสําคัญก่อน ส่วน รายละเอียดไว้ทีหลัง ประกอบด้วย ข่าวพาดหัว วรรคนํา ส่วนเชื่อม และส่วนของเนื้อเรื่อง เรียง ตามลําดับความสําคัญ เป็นการเขียนข่าว โดยเริ่มด้วยความนําที่เป็นประเด็นสําคัญของเรื่อง และ ส่วนเชื่อมที่โยงความสัมพันธ์ระหว่างความนํากับเนื้อหา ที่มีความสําคัญรองลงมา ส่วนเนื้อหา จะ เป็นส่วนประกอบที่ให้รายละเอียดของเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมด
- แบบปิระมิดหัวตั้ง (upright pyramid) จะเรียงลําดับข้อมูลที่มีความสําคัญน้อยไปหามาก ที่สุด (climax) เพื่อให้ผู้อ่านมีความอยากรู้ เริ่มจากประเด็นที่ไม่มีความสําคัญมากนัก แล้วค่อยๆ เพิ่ม ประเด็นที่สําคัญขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงประเด็นสําคัญที่สุด มักจะใช้ในเรื่องที่มีเงื่อนงํา เชิงสืบสวน สอบสวน ปัจจุบันไม่นิยมใช้
- แบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงยืนแบบผสม (combination) มักใช้เขียนข่าวที่ไม่ค่อยสําคัญ เป็น ข่าวสั้นๆ เริ่มจากส่วนเชื่อม หรือจากเนื้อเรื่องข่าว หลังจากพาดหัวข่าวแล้ว ไม่มีความนํา ความสําคัญของข่าวเท่าเทียมกัน ตั้งแต่ต้นจนจบเนื้อเรื่องของข่าว มักจะเขียนแบบเสนอข้อเท็จจริง
ข้อควรระวังในการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์
- ชื่อและนามสกุลต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดพลาดอาจกลายเป็นคนละบุคคล หรือเกิดความเสียหายได้
- ยศ ตําแหน่ง ต้องระบุให้ตรงกับความเป็นจริงขณะนั้น เช่น อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย
- คํานําหน้าชื่อ และบรรดาศักดิ์ต้องระบุเรียงลําดับให้ถูกต้อง
- การใช้อักษรย่อ หรือตัวย่อต่างๆ ควรตรวจสอบให้ดี
- ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไป
- การเขียนตัวเลขถ้ามีจํานวนมากอาจใช้ตัวอักษรแทน ถ้าไม่ใช่ตัวเลขที่แน่นอน ควรใช้คําว่า ประมาณ
- หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก
ช่องทางการประชาสัมพันธ์
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านช่องทางจดหมายข่าว เดือน ละ 1 ครั้ง
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านช่องทาง เว็บไซต์, Line กลุ่ม , Face book Page และ Youtube
- ประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่าน Face book ส่วนตัวทันทีเมื่อเสร็จงาน เพื่อเป็นประชาสัมพันธ์งานอีก 1 ช่องทาง
งานมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา. (2562). เทคนิคการเขียนข่าวและงานประชาสัมพันธ์ สำนักประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2567, จาก https://qa.kpru.ac.th/main2/?lang=TH&page_id=50
ข้อมูลอื่น ๆ
วาระการประชุมสร้างความเข้าใจการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ EdPEx
เผยแพร่เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2567
ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx ระดับคณะ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ปี พ.ศ.2566
เผยแพร่เมื่อ 4 ตุลาคม 2567